วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย

หัวข้อวิจัย :  การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทาง  
                    วิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้
                    ภูมิปัญญาท้องถิ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ 
                    จังหวัดอุดรธานี

ผู้ดำเนินการวิจัย :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทัศน์   จันบัวลา
                                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพรรณ  ธีรพงศ์
                                นางสาวนิศารัตน์  อิสระมโนรส
                                นางสุมาลี  นาคประดา
                                นางสาวธิดารัตน์   จันทะหิน
                                นายมานะ   เอี่ยมบัว
หน่วยงาน      มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต   ปีการศึกษา  2555

ความสำคัญ

            สำหรับในงานวิจัยนี้จะแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้  โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในจังหวัดอุดรธานี  มาประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการ้รียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์และการคิด  เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

           1. เพื่อศึกษารูปแบบของสื่อ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  เขตจังหวัดอุดรธานี
           2. เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดอุดรธานี  โดนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนในจังหวัดอุดรานี
           3. เพื่อประเมินสื่อและกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและถ่ายทอดผลการพัฒนาสื่อ

ขอบเขตของการวิจัย

            1. เชิงปริมาณ  ศึกษารูปแบบของสื่อ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด  สำหรับเด็กปฐมวัยในเขตจังหวัดอุดรธานี โดยสุ่มตัวอย่างจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
            2. เชิงคุณภาพ พัฒนา ออกแบบสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานีประเมินผลการใช้สื่อและถ่ายทอดผลการวิจัย

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง

           ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานีจำนวน 197 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          1. แบบสอบถามเกี่ยวกับสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดุดรธานี
          2. แบบประเมินสื่อที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
          3. แบบทดสอบการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย



สรุปผลการวิจัย

             จากการวิจัยเบื้องต้นพบว่า แหล่งเรียนรู้ที่เลือกใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ส่วนใหญ่คือ แหล่งเรียนรู้จากธรรมชาติ  หลักในการเลือกสื่อมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์  ส่วนใหญ่คือต้องมีความปลอดภัย  ส่วนการจัดหาสื่อที่ทำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน  ส่วนใหญ่คือประดิษฐ์ขึ้นเอง  สุดท้ายคือลักษณะสื่อที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์  ส่วนใหญ่คือ สื่อที่เป็นของจริง

สรุปบทความ

เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย

 “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” 

กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว


                 บทความนี้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านนิทาน” ในงานเปิดตัวกรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ของ สสวท. เป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ 
                 โดยนำนิทานที่เป็นสื่อที่มีอยู่ทั่วไป หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้   นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล 
โดยการเล่านิทานในแต่ละเรื่องควรมีการเตรียมตัวก่อนนำมาเล่า เพราะนิทานบางเรื่องก็มีเพียงภาพ
                  
นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ ?

         “การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วม” แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน จึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทาน

           เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
          ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง   นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาส เด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้
              “เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม”  นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ “เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวัง ก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่ อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น” ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่า จะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด
                  นอกจากนี้ ในส่วนของคุณครูผู้สอนระดับปฐมวัยนั้น ปกติใช้นิทานในการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่อยากให้มองในการใช้นิทานเป็นสื่อในการพัฒนาเด็กหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แต่เพียงด้านภาษาอย่างเดียว อยากให้สอดแทรกเรื่องอื่นเข้าไปด้วย ซึ่งครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เยอะแยะแตกแขนงมากมายหลายสาขาวิชา สามารถใช้นิทานเพื่อนำไปสู่การทำโครงงานเล็กๆ การทดลองเล็ก ๆ หรือการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทำให้เกิดทักษะหลากหลาย

.....นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้น... 
แต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้


วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันอังคารที่  22  พฤศจิกายน   2559

กิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์
วันจันทร์  สายพันธุ์ของไก่
วันอังคาร  ลักษณะของนม
วันพุธ   การดูแลรักษาข้าว
วันพฤหัสบดี  ประโยชน์ของกล้วย
วันศุกร์   Cooking น้ำ 
และเพิ่มเติมหน่วย ส้ม เพราะ มีการสอนแบบ STEM

แผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มกล้วย


นิทานเรื่อง  เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด  (ใช้นิทานสอนประโยชน์)











ภาพกิจกรรมจากกลุ่มต่างๆ









คำศัพท์
น้ำดอกอันชัญ    Butterfly Pea Juice
ชาวสวน   gardener
ค้าขาย trade
การทำงานเป็นทีม teamwork
นิทาน tale

การนำไปประยุกต์ใช้
ทุกๆกิจกรรมในวันนี้สามารถนำไปใช้สอนได้จริงในอนาคต ทุกๆอย่างสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการได้หลายวิชา ใช้การสอนที่แตกต่างกันออกไปและเหมาะสมกับหัวข้อที่ต้องการจะสอน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง ลงมือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ มีความสนุกและตื่นเต้นว่าเพื่อนจะสอนอย่างไร
ประเมินเพื่อนๆ เพื่อนๆให้ความสนใจกับกิจกรรมที่ทุกๆกลุ่มนำเสนอ โดยเฉพาะกิจกรรม Cooking
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้ความสนใจกับกิจกรรมที่นักศึกษากำลังดำเนิน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคารที่  15  พฤศจิกายน  2259
วันนี้ให้นั่งตามกลุ่มของตนเองและเขียนแผนการสอนในวันที่ตนเองรับผิดชอบ

องค์ประกอบของแผนการจัดประสบการณ์
-  วัตถุประสงค์
-  สาระการเรียนรู้
          -  สาระที่ควรเรียนรู้
          -  ประสบการณ์สำคัญ
-  กิจกรรมการเรียนรู้
-  สื่อ/แหล่งเรียนรู้
-  การวัดและประเมินผล
-  การบูรณาการ

โดยวันนี้เป็นการเขียนเจาะลึกในส่วนของกิจกรรมการเรียนรู้
หน่วย กล้วย  ( ชนิดของกล้วย )
ขั้นนำ
-  ครูพาเด็กอ่านคำคล้องจองเรื่อง กล้วย
-  ครูสอบถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีกล้วยชนิดใดบ้าง  (จดบันทึก)
-  ครูสอบถามเด็กๆว่านอกจากนี้ยังมีกล้วยชนิดใดที่เด็กๆรู้จักบ้าง
ขั้นสอน
-  ครูนำตระกร้าปิดผ้ามาถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าในตระกร้ามีอะไรบ้าง
-  หยิบกล้วยมาถามเด็กๆว่าเด็กๆรู้จักกล้วยชนิดนี้หรือไม่ แล้วบอกเด็กๆว่ากล้วยชนิดนี้เรียกว่ากล้วยอะไร พร้อมนับจำนวน เมื่อหยิบมาจนหมดตระกร้าให้เด็กนำตัวเลขไปกำกับ
-  ครูให้เด็กแยกประเภทของกล้วย  โดยหยิบให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วให้เด็กออกมาหยิบจนหมดชนิดของกล้วยนั้นๆ
-  ครูถามเด็กว่ากล้วยฝั่งไหนมีจำนวนมากที่สุด  และเด็กๆรู้ได้อย่างไรว่าชนิดนี้มากที่สุด
-  พาเด็กพิสูจน์ว่าฝั่งไหนมีจำนวนมากที่สุด  ด้วยการนับ 1 ต่อ 1 โดยให้เด็กหยิบออกคนละชนิดจนเหลือกล้วยชนิดเดียวที่เหลืออยู่
ขั้นสรุป
-  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่ากล้วยที่เหลือชนิดสุดท้าย คือ กล้วยที่มีจำนวนมากที่สุด
-  สอบถามเด็กๆว่าวันนี้ได้รู้จักกล้วยชนิดใดบ้าง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การเขียนแผนการสอนต้องเขียนให้เข้ากับสิ่งที่เราต้องการจะสอนเด็ก  จึงจะทำให้การสอนออกมาได้ตามขั้นตอนและมีประสิทธิภาพ

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
procedure    กระบวนการ
object    วัตถุประสงค์
integration   บูรณาการ
experience  ประสบการณ์
an elemant   องค์ประกอบ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง   มีความเครียดเนื่องจากสิ่งที่เข้าใจไม่ตรงกับสิ่งที่ถูกต้อง  ทำให้ต้องทำความเข้าใจหนักกว่าเดิม
ประเมินเพื่อนๆ   เพื่อนต่างๆจดจ่ออยู่กับงานของตนเองและมีคำแนะนำสำหรับเพื่อนที่ไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์   อาจารย์พยายามทำให้ทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญต่อเรื่องที่ตนเองต้องสอนและให้มันออกมาถูกต้อง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่  8  พฤศจิการยน  2559


วันนี้เซคเรียน 102  เป็นตัวแทนนักศึกษาการศึกษาปฐมวัย  มาแสดงตัวอย่างการเรียนการสอนแบบการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะในหน่วย  ผีเสื้อ  ให้แก่คณะศึกษาดูงานจากประเทศออสเตรีย

ภาพบรรยากาศ






บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่  1  พฤศจิกายน  2559

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นการนำเสนอวิดิโอการทำของเล่นของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1   พลังปริศนา


กลุ่มที่ 2   ขวดบ้าพลัง


กลุ่มที่  3   รถแกนหลอดด้าย


กลุ่มที่ 4   ลูกข่างนักสืบ


หลังจากนั้นก็ให้จับกลุ่มตามหน่วยการเรียนรู้เดิม แล้วให้วิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรให้ mind map  ของเราสอดคล้องกับหัวข้อดังต่อไปนี้

มาตรฐานทางคณิตศาสตร์  6  มาตรฐาน
ทักษะทางวิทยาศาสตร์    13  ทักษะ
กรอบมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์  8  มาตรฐาน
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ศิลปะ
สังคม
สุขศึกษาและพลศึกษา

Mind mapping  6  กิจกรรมหลักของกลุ่ม


Mind  Mapping  สมาชิกในกลุ่ม







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การจัดทำวิดิโอสื่อการเรียนทำให้เราได้แนวทางที่จะทำสื่อสำเร็จรูปเพื่อนำมาสอนเด็กหรือเปิดให้เด็กดูก่อนเข้าสู่หน่วยที่เรียน  และการทำ Mind  map  เชื่อมโยงให้เข้ากับสาระที่ควรเรียนรู้ด้วย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง    รวบรวมข้อมูลช่วยเพื่อนและทำหน้าที่เขียนมายแมบ
ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆแบ่งหน้าที่กันหาข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนดไว้
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ให้เขาแนะนำเพิ่มเติมเรื่องวิดิโอจากที่นักศึกษาวิเคราะห์ของเพื่อน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคารที่  25  ตุลาคม  2559

ความรู้ที่ได้รับ

ทุกกลุ่มออกไปนำเสนอชาร์ตหน่วยของกลุ่มตนเอง
* การเขียน mind mapping ควรเริ่มจากด้านขวามือวนเหมือนเข็มนาฬิกา
   การเขียนควรเขียนให้ตัวหนังสืออยู่ในแนวเดียวกัน ไม่ชี้ไปคนละด้าน
   มีการแบ่งหัวข้อจากหัวข้อหลักลงไปหัวข้อย่อยเรื่อยๆ มีภาพประกอบได้
   การใช้สีควรใช้ที่เข้มในหัวข้อหลัก แล้วใช้สีจางในหัวข้อรองถัดไป







ตัวอย่างหน่วยกล้วย



การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เราระบุหน่วยความรู้ที่ถูกต้องได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง  :  มีความเข้าใจหลักการ การเขียน Mine map มากขึ้นเนื่องจากได้ทำบ่อย
ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆสามารถหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยของตนเองมาตอบคำถามได้
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับการลงรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ