วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 6 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ

             วันนี้ได้จัดการเรียนนอกห้องเรียนคือไปเรียนที่ห้องภาพยนต์  ได้ศึกษาจากวิดิโอเรื่องอากาศมหัศจรรย์   

             - ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ได้
             - รอบๆตัวเรามีอากาศ อากาศมีตัวตน มนุษย์และสัตว์ต่าต้องการอากาศ
             - อากาศไม่มีรูปร่างแต่แทรกตัวอยู่ในทุกๆพื้นที่
             - อากาศร้อยจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศเย็น เมื่อมีความร้อนมากๆจะลอยขึ้นสู่ที่สูงเพื่อลดความร้อนของตัวเอง จึงเป็นเทคนิคนำมาใช้กับบอลลูนที่ข้างล่างจะมีเชื้อเพลิงที่มีความร้อนทำให้บอลลูนลอยขึ้นสูฟ้าได้
             จากนั้นนำเสนอของเล่นที่อาจารย์ให้ทุกคนประดิษฐ์มา แต่เนื่องจากสิ่งที่ข้าพเจ้าทำไปซ้ำกับเพื่อนในสัปดาห์ที่แล้วจึงยังไม่ได้มีการนำเสนอชิ้นงาน


การนำไปประยุกต์ใช้
อากาศเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราจึงง่ายต่อการที่จะนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอน เช่น การทำกิจกรรมในห้องเรียน การไปศึกษาเรื่องลมจากนอกสถานที่เป็นต้น

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : ไม่ค่อยได้ฟังเนื้อหาชัดเจนเนื่องจากเสียงวิดิโอดังเกินไปทำให้ไม่มีสมาธิ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจกับวิดิโอเพราะเป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พยายามหาสิ่งที่หลากหลายมาสอดแทรกกับเนื้อหาการเรียนและมีคำแนะนำกะบการทำของเล่น
             

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม  2559


ความรู้ที่ได้รับ
               วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนแต่ได้มีการมอบหมายงานจากอาจารย์โดยให้สรุปเนื้อหาจากชีท เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

  • คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี
คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·         วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·         รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·         เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
·         เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
·         ใช้กรรไกรมือเดียวได้
·         วาดและระบายสีอิสระได้







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·         แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·         ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·         กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง


พัฒนาการด้านสังคม
·         รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·         ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·         เล่นสมมติได้
·         รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านร่างกาย
·         กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·         รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·         เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
·         เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
·         ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
·         กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·         แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·         เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·         ชอบท้าทายผู้ใหญ่
·         ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ

พัฒนาการด้านสังคม
·         แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
·         เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
·         แบ่งของให้คนอื่น
·         เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
·         กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·         รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·         เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
·         เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
·         ตัดกระกาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
·         ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
·         ยืดตัว  คล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·         แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
·         ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·         ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง


พัฒนาการด้านสังคม
·         ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
·         เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·         พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
·         รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
·         รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·         สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·         บอกชื่อของตนเองได้
·         ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·         สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
·         สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
·         ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
·         รู้จักใช้คำถาม อะไร
·         สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
·         อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·         จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·         บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·         พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
·         สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
·         สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·         รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·         บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·         บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·         พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
·         สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
·         สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
·         รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
·         เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·         นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้
  • ทฤษฎีการเรียนรู้
                        การวางเงื่อนไขกลับ
                        ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
                        การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์
                        การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์


การประยุกต์ใช้
                 การเรียนรู้พัฒนาการความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัยจะทำให้เราสามารถประเมินความพร้อมของเด็กแต่ละคนได้ และรู้ว่าเด็กควรได้รับการเสริมแรงในด้านใดเพื่อพัฒนาความสามารถของเขา

ประเมินผล
                 ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่ครูมอบหมายให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
                 ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆต่างตั้งใจทำงานของตนเอง เมื่อสงสัยในเนื้อหาของงานก็มีการแลกเปลี่ยนสอบถามกัน
                 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้มอบหมายงานมาทำเนื่องจากติดธุระ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (ชดเชย)

วันที่  22  สิงหาคม  2559

ความรู้ที่ได้รับ
                การเรียนชดเชยครั้งที่ 1 มีหัวข้อใหญ่ๆที่ได้ชี้แจง ทำความเข้าใจกับนักศึกษา เช่น  หนังสือ , ใบความรู้ , การแต่งกาย , การสรุปทำความเข้าใจให้ตรงกัน และการทำบล็อค

องค์ประกอบของบล็อคที่ต้องมี

  • ใช้ภาษาอังกฤษในหัวข้อต่างๆ
  • การบันทึกประกอบด้วย  ความรู้ที่ได้รับ  การประยุกต์ใช้  การประเมินผล
  • งานวิจัย 1 เรื่องไม่ซ้ำเพื่อน
  • สื่อ เช่น เพลง นิทาน ของเล่น แบบฝึกหัด
  • บทความ
  • นาฬิกา ปฏิทิน หน่วยงานสนับสนุน ชื่อภาษาอังกฤษ โปรไฟล์
  • มีคำศัพท์บทละ 5 คำ
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายแล้ว  อาจารย์ก็ได้ให้กระดาษมาคนละ 1 แผ่น เพื่อทำ mind mapping ความรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์



การประยุกต์ใช้

                 การสร้างบล็อคเพื่อเก็บสะสมงานของตนเองเป็นการเก็บงานไว้ในระยะยาวไม่หายง่ายๆ เมื่อเราต้องการที่จะทบทวนความรู้ในอนาคตก็สามารถเข้ามาค้นหาดูได้ง่ายๆ

คำศัพท์
science  วิทยาศาสตร์
mind mapping  แผนผังความคิด
blogger  คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อก
learning  การเรียนรู้
learning process  กระบวนการเรียนรู้
ประเมินผล

         ประเมินตนเอง : มีความตื่นเต้นกับการเรียนครั้งแรก พยายามทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมายและการเตรียมความพร้อมในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
         ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความกระตื้อรื้อร้นในการฟังสิ่งที่อาจารย์มอบหมาย และมีการถามคำถามเมื่อไม่เข้าใจในสิ่งนั้น
         ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการทำข้อตกลง ทำความเข้าใจกับนักศึกษาเกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้จนนักศึกษาเข้าใจตรงกัน จะได้ทำให้งานไม่มีความคลาดเลื่อน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 (ชดเชย)

วันที่ 22 สิงหาคม 2559


ความรู้ที่ได้รับ
จากการเขียน mind mapping ครั้งที่แล้วทำให้เราได้หัวข้อใหญ่ๆเกี่ยวกับการเรียนดังนี้

  1. วิทยาศาสตร์
  2. การจัดประสบการณ์
  3. เด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การสืบค้น  ค้นหาความจริงของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เช่น การสังเกต การทดลอง  การใช้เหตุผล การสำรวจ การแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ การสรุป เป็นต้น เพื่อให้ได้ความรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์สำคัญอย่างไร  :  เป็นสิ่งตอบสนองต่อการดำรงชีวิต เกิดประโยชน์ทำให้เราสะดวกสะบาย และสำคัญต่อการเสริมประสบการณ์ ทำให้เราเชื่อมั่นในตนเอง
วิทยาศาสตร์ คือ การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว มีความแตกต่าง พึงพาอาศัย ความสมดุล
เครื่องมือการเรียนรู้ : ภาษา,คณิตศาสตร์

การจัดประสบการณ์
เช่น  มีไก่สด 1 ชิ้น  ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้ได้กิน
สมมติฐาน : ทอดในน้ำมันร้อน
ทดลอง : นำลงไปทอด
รวบรวมข้อมูล : ใช้ทักษะการสังเกต
สรุป : รวบรวมข้อมูลแล้วสรุปเพื่อนำไปอิงสมมติฐาน

  • เนื้อหา  :  สิ่งแวดล้อม/โลกดาราศาสตร์
  • สาระสำคัญ 4 หัวข้อ : สาระ คือ เนื้อหา ---> เนื้อหาที่ใกล้ตัวเด็ก , มีผลกระทบกับเด็ก , เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
  • วิธีการ คือ การทดลอง สังเกต สรุป วิเคราะห์ การสำรวจ  
  • วิธีการ : การค้นหาความจริงโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ข้อเท็จจริง
  • การทดลอง : หาข้อมูลเพื่อนำไปใช้ / แก้ไขปัญหา
เด็กปฐมวัย
  • อายุแรกเกิด ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน
  • มีความต้องการ
  • มีพัฒนาการ >> วิธีการเรียนรู้ >> ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า

การประยุกต์ใช้
                จากเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ทำให้ทราบถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ในกับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กมีการเรียนรู้อยากเป็นขั้นตอน ค้นหาคำตอบที่มีจริง ความรู้ที่ได้ในวันนี้จึงสามารถนำไปปรับใช้กับการสอนที่หลากหลายแนวมากยิ่งขึ้นและเพิ่มความรู้ให้กับตนเองในเรื่องวิทยาศาสตร์

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจกับเนื้อหาที่กำลังได้เรียนเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนในวิชานี้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจช่วยกันตอบคำถาม ระดมความคิดด้วยกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อนให้นักศึกษาได้ตอบ ทำให้รู้ว่าสิ่งที่เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาที่ตรงกันหรือไม่